การจัดการอารมณ์

เมื่อเด็กๆ รู้สึกเครียด จะฮีลใจอย่างไรดี?

stressed

ในทุกๆ วัย ก็ต้องการการฮีลใจ รับฟังและแสดงความเข้าใจ: เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดถึงความรู้สึกและประสบการณ์ของตนเอง โดยไม่ตัดสินหรือบังคับ การรับฟังอย่างตั้งใจและแสดงความเข้าใจจะช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและได้รับการยอมรับ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย: ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ โดยการอยู่ใกล้ชิดและให้กำลังใจ การกอดหรือสัมผัสอย่างอ่อนโยนสามารถช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น หลีกเลี่ยงการบังคับให้เล่าเรื่อง: ไม่ควรบังคับให้เด็กเล่าเรื่องซ้ำๆ หากเด็กยังไม่พร้อม ให้เวลาและพื้นที่แก่เด็กในการพูดคุยเมื่อเขาพร้อม ส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยในการแสดงออก: สนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมที่ช่วยในการแสดงออก เช่น การวาดรูป การเล่น หรือการทำกิจกรรมที่สนุกสนาน เพื่อช่วยให้เด็กระบายความรู้สึกและลดความเครียด จำกัดการเข้าถึงสื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์: ลดการให้เด็กดูหรือฟังสื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุนแรง เพื่อป้องกันการกระตุ้นความกลัวและความเครียด ให้เวลาและความอดทน: การฟื้นฟูสภาพจิตใจต้องใช้เวลาและความอดทน อย่าคาดหวังให้เด็กมากเกินไป ควรให้การสนับสนุนและกำลังใจอย่างต่อเนื่อง หากเด็กมีอาการที่รุนแรงหรือยืดเยื้อ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อรับการช่วยเหลือที่เหมาะสมค่ะ สนใจเรียนวิชาการ ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 061-9542244 หรือ 089-6792835 Line : @thailandcoursehub  Class at home in Bangkok บทความที่น่าสนใจ สัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกอาจมีพัฒนาการที่ล่าช้า สัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกอาจมีพัฒนาการที่ล่าช้า admin • 01/02/2025 […]

เมื่อเด็กๆ รู้สึกเครียด จะฮีลใจอย่างไรดี? Read More »

สอนลูก ให้รับมือกับคน toxic อย่างไรดี?

toxic relationship

เรียนรู้ทักษะจัดการความสัมพันธ์ในเชิงบวก ในยุคปัจจุบัน เรามักจะได้ยินเรื่องของความ Toxic หรือพฤติกรรมที่เป็นพิษมามาก ซึ่งหมายความถึง การที่ใคร หรือสถานการณ์ใด มาส่งผลกระทบต่อจิตใจเรานั่นเอง และการสอนลูกให้รับมือกับคน toxic สามารถทำได้หลายวิธี เพื่อช่วยให้ลูกเติบโตมาเป็นคนที่มีทักษะในการจัดการกับความสัมพันธ์ในเชิงบวกและไม่ตกเป็นเหยื่อของบุคคลที่มีพฤติกรรมทำร้ายจิตใจ: สอนให้รู้จักแยกแยะคน: สอนลูกให้เข้าใจว่าบางคนอาจมีพฤติกรรมที่ทำร้ายจิตใจ หรือทำให้รู้สึกไม่ดี ควรเลือกคบเพื่อนที่สร้างพลังบวก ส่งเสริมการสื่อสารตรงไปตรงมา: ให้ลูกกล้าพูดความรู้สึกของตัวเองโดยไม่กลัวการวิจารณ์ และสามารถบอกว่าอะไรที่ไม่ชอบหรือไม่โอเค สอนการตั้งขอบเขต (Boundaries): ช่วยลูกเรียนรู้ว่าต้องรู้จักกำหนดขอบเขตในความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ใครข้ามเส้นหรือทำร้ายจิตใจ สอนให้ยอมรับและขอโทษเมื่อทำผิด: สอนให้ลูกเข้าใจว่าการขอโทษเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ และไม่ควรโยนความผิดให้คนอื่น พัฒนาอารมณ์และการจัดการความเครียด: สอนลูกให้รู้จักควบคุมอารมณ์เมื่อเจอคน toxic โดยการหาวิธีผ่อนคลาย และไม่ตอบสนองด้วยอารมณ์เชิงลบ หากเด็กๆ สามารถฝึกฝนการเตรียมรับมือเรื่องนี้ไว้ก่อนได้ ก็จะช่วยให้พวกเขาสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ และมีจิตใจที่เข้มแข็งกับทุกเรื่องในชีวิตได้นั่นเองค่ะ สนใจเรียนวิชาการ ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 061-9542244 หรือ 089-6792835 Line : @thailandcoursehub  Class at home in Bangkok บทความที่น่าสนใจ สอนลูก ให้รับมือกับคน

สอนลูก ให้รับมือกับคน toxic อย่างไรดี? Read More »

ทำอย่างไร เมื่อลูก “เถียง”

argue kids

รับมืออย่างไร เมื่อลูกเถียง ปัญหาที่ทุกครอบครัวต้องเจอ เมื่อมีเจ้าตัวน้อย ก็คือ การที่ลูกมักจะ “เถียง” เวลาเราพยายามจะสอนหรือตักเตือนอะไร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เพียงแต่การตอบโต้ของเรานั้น ควรทำอย่างไรถึงจะดีนะ? และการที่เด็กๆ มีพฤติกรรมแบบนี้ เกิดจากอะไรกัน? การเถียงเกิดขึ้นได้ใน 2 ช่วงวัยหลักๆ ของเด็กๆ ที่มักพบเจอกันได้คือ ช่วงเด็กเล็ก ที่เพิ่งเรียนรู้การสื่อสารได้ไม่นาน กับช่วงก่อนเข้าวัยรุ่น โดย 2 ช่วงวัยนี้ จะมีเหตุผลในการเถียงที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ช่วงวัยเด็กแรกเริ่มหัดสื่อสารนั้น เด็กๆ มักจะยังไม่รู้วิธีการสื่อสารมากนัก จึงอาจทำให้ไม่รู้ว่า สิ่งนี้ คือการเถียง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งการที่เขาเถียงอาจเกิดจากการเลียนแบบสื่อที่ได้เห็น หรือพฤติกรรมของเราเองก็เป็นได้ ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่น การเถียงมักเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย ที่ทำให้พวกเขาเกิดอาการหงุดหงิดง่าย ต้องการพื้นที่ส่วนตัว มีความต้องการชัดเจน อยากรู้อยากลอง และไม่อยากเชื่อฟังเท่าที่ควร ซึ่งวิธีการรับมือเมื่อลูกๆ เริ่มมีพฤติกรรมการ “เถียง” เกิดขึ้นนั้น อาจทำได้ดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำให้พวกเขาสามารถจดจำ และเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่า การเถียงนั้น อาจไม่ใช่เรื่องที่ปกตินัก หากเราสุภาพ

ทำอย่างไร เมื่อลูก “เถียง” Read More »

Checklist นี่เราเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือเปล่านะ!?

Toxic family checklist

รู้หรือไม่? พฤติกรรมของเราสามารถส่งต่อถึงผู้อื่นได้ เรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ถูกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ คือเรื่องการ Toxic หรือการเผลอทำพฤติกรรมที่ส่งผลลบต่อจิตใจคนรอบข้าง โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในครอบครัวตัวเองนั่นเองค่ะ ซึ่งหลายครั้ง ก็เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้เจตนาให้เกิดความรู้สึกแง่ลบ แต่อาจทำไปโดยไม่ทันคิด บทความนี้จึงอยากชวนผู้อ่านมา Checklist กันอีกครั้งว่า เรากำลังเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือไม่!? ไม่รับฟังปัญหาของอีกฝ่าย หลายครั้งที่เราอาจพลาดที่จะรับฟังปัญหาที่เด็กๆ พยายามจะบอก อาจทำให้เกิดความรู้สึกในใจขึ้นได้ว่า เด็กๆ ไม่สามารถบอกอะไรกับพ่อแม่ได้ และทำให้ฝ่ายพ่อแม่เองไม่รู้ปัญหาของเด็กๆ อีกด้วย อาจแก้ไขด้วยการถามไถ่สม่ำเสมอ ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเด็กๆ พูดคุย สร้างความสนิทสนม ให้เกิดความสบายใจนั่นเองค่ะ ไม่ให้พื้นที่ส่วนตัว หนึ่งในสิ่งที่ทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่คือ พื้นที่ส่วนตัวนั่นเอง การมีพื้นที่ส่วนตัวบ้างในบางเวลา อาจช่วยให้เกิดความสบายใจ เลือกทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้และรู้สึกผ่อนคลาย อยู่กับตัวเองมากขึ้นนั่นเอง การใช้ความรุนแรง เป็นเรื่องที่หนักหน่วงที่สุด คือการลงไม่ลงมืออย่างรุนแรง เพราะเป็นภาษากายที่ต่อให้มีการอธิบายอย่างไร ก็ยังคงสร้างบาดแผลในใจได้อยู่ดี พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ว่าจะเพื่อกดดันเกินวัย หรือการใช้คำหยาบคาย การพูดทำร้ายจิตใจทางอ้อม ทั้งหมดล้วนสร้างบาดแผลในใจเด็ก อาจทำให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมและนำไปทำต่อคนอื่นๆ ต่อ ซึ่งเป็นผลเสียทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพฤติกรรมที่อาจทำให้บ้านไม่ใช่เซฟโซนของเด็กๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นเช็กสถานะความสุขในบ้าน

Checklist นี่เราเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือเปล่านะ!? Read More »