ฝึกสมอง

6 เทคนิคอ่านหนังสือแบบรวดเร็ว จดจำแม่นยำ

6 เทคนิคอ่านหนังสือแบบรวดเร็ว จดจำแม่นยำ เหมาะสำหรับช่วงเวลาเร่งด่วนก่อนสอบ มีเวลาเตรียมตัวน้อย 1) เริ่มจากการอ่านบทสรุปก่อนโดยปกติแล้ว หนังสือส่วนใหญ่จะมีการสรุปที่ท้ายบท เพื่อเน้นย้ำให้เราเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เมื่ออ่านบทสรุปแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจ ให้ย้อนกลับมาอ่านเนื้อหาแบบผ่านๆ หาในสิ่งที่เราต้องการรู้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มอ่านตั้งแต่ต้น 2) เลือกดูจากสารบัญ หรือหัวข้อการเลือกอ่านส่วนนี้ก่อน จะทำให้เราได้เห็นเนื้อหาหลักของบทเรียนทั้งหมด และการลำดับความสำคัญของเนื้อหา ทำให้เราสามารถเลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่เรายังไม่เข้าใจได้ 3) ไฮไลท์ข้อความสำคัญเราไม่สามารถจำเนื้อหาทั้งหมดได้ การไฮไลท์เฉพาะส่วนที่สำคัญ จะช่วยให้เราจดจำได้ดียิ่งขึ้น ควรไฮไลท์ในส่วนที่จำเป็นต้องจำ หรือในส่วนของบทสรุป เพื่อที่เวลาย้อนกลับมาอ่านอีกรอบ เราจะได้เห็นข้อความที่เป็นใจความสำคัญสะดุดตาก่อน แล้วภาพบริบทอื่นๆ ในบทเรียนจะตามมา 4) เขียนสรุปในรูปแบบของตัวเราเองสิ่งที่จะทำให้เราจดจำได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ คือการเขียนสรุปด้วยภาษาของเราเอง ถ้าเราเขียนสรุปเพิ่มเติมจากการไฮไลท์ในหนังสือ จะทำให้เวลาที่เรากลับมาอ่านทบทวน เราจะไม่ต้องพลิกหน้าหนังสือไปมา สามารถอ่านจากที่เราสรุปไว้ได้เลย ช่วยประหยัดเวลาได้มาก 5) ช่วยกันติวกับเพื่อนการพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกับเพื่อน จะช่วยให้เราได้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ว่าสิ่งที่เราเข้าใจถูกต้องหรือไม่ หรือถ้ามีส่วนไหนที่ถูกข้ามไป ก็จะสามารถเพิ่มเติมข้อมูลลงไปได้ แต่ละคนก็มักจะมีเทคนิคการอ่านสรุปแตกต่างกันไป เราก็จะได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ จากมุมมองของเพื่อนด้วย 6) ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากการอ่านหนังสือแล้ว เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อประกอบกับการอ่านหนังสือ ลองอ่านเนื้อหาที่ผู้เขียนคนอื่นได้ทำการสรุปไว้ ก็จะทำให้มีตัวอย่างหลากหลายมากขึ้น หลังจากนั้นก็นำเนื้อหาทั้งหมดมาสรุปรวมกันในรูปแบบของเราเองอีกทีก็ได้เช่นกัน […]

6 เทคนิคอ่านหนังสือแบบรวดเร็ว จดจำแม่นยำ Read More »

ฝึกพัฒนาการสมอง ด้วยการทำสิ่งที่ไม่ถนัด

การทำงานของระบบร่างกายเรา ถูกสั่งการด้วยสมอง ทำอย่างไร เราจะสามารถฝึกฝนเพื่อพัฒนาสมองของเราได้บ้าง อย่างที่เกริ่นไปในตอนต้น การทำงานภายในระบบร่างกายของเรานั้นถูกสั่งการด้วยสมอง คนเรามักจะคุ้นชินกับการทำอะไรรูปแบบเดิมๆ โดยการทำในสิ่งที่เราถนัดนั้น สมองของเราจะถูกกระตุ้นเพียงข้างเดียว สมองและกล้ามเนื้ออีกข้างจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร เราควรจะต้องฝึกสมองทั้งสองข้างให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สมองซีกซ้าย เป็นส่วนของการตัดสินใจ การใช้เหตุผล ตรรกะ การคิดวิเคราะห์ การคำนวน ทักษะภาษา โดยควบคุมมือข้างขวา สมองซีกขวา เป็นส่วนของความคิดสร้างสรรค์ การใช้อารมณ์ สุนทรียศาสตร์ที่ประกอบไปด้วย ความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี ความจำ โดยควบคุมมือข้างซ้าย เราสามารถลองเริ่มจากสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราสามารถเริ่มทำได้เป็นประจำ เพื่อฝึกสมองทั้งสองข้าง เช่น ฝึกการนับเลขถอยหลัง ฝึกการเขียน-วาดรูป โดยใช้มือข้างที่ไม่ถนัด ลองสลับมือจับช้อนส้อม และตะเกียบ การลองปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมๆ ของตัวเอง ลดความจำเจ พยายามลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็จะช่วยฝึกฝนสมองให้พัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้น เช่น หากเป็นคนที่ถนัดด้านวิชาการ ลองหากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างการเรียนศิลปะ ดนตรี จัดดอกไม้ เพิ่มเติม อาจลองทำกิจกรรมที่มีความท้าทาย เช่น เล่นกีฬา Extreme เป็นต้น

ฝึกพัฒนาการสมอง ด้วยการทำสิ่งที่ไม่ถนัด Read More »