แม่และเด็ก

Checklist นี่เราเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือเปล่านะ!?

Toxic family checklist

รู้หรือไม่? พฤติกรรมของเราสามารถส่งต่อถึงผู้อื่นได้ เรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ถูกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ คือเรื่องการ Toxic หรือการเผลอทำพฤติกรรมที่ส่งผลลบต่อจิตใจคนรอบข้าง โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในครอบครัวตัวเองนั่นเองค่ะ ซึ่งหลายครั้ง ก็เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้เจตนาให้เกิดความรู้สึกแง่ลบ แต่อาจทำไปโดยไม่ทันคิด บทความนี้จึงอยากชวนผู้อ่านมา Checklist กันอีกครั้งว่า เรากำลังเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือไม่!? ไม่รับฟังปัญหาของอีกฝ่าย หลายครั้งที่เราอาจพลาดที่จะรับฟังปัญหาที่เด็กๆ พยายามจะบอก อาจทำให้เกิดความรู้สึกในใจขึ้นได้ว่า เด็กๆ ไม่สามารถบอกอะไรกับพ่อแม่ได้ และทำให้ฝ่ายพ่อแม่เองไม่รู้ปัญหาของเด็กๆ อีกด้วย อาจแก้ไขด้วยการถามไถ่สม่ำเสมอ ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเด็กๆ พูดคุย สร้างความสนิทสนม ให้เกิดความสบายใจนั่นเองค่ะ ไม่ให้พื้นที่ส่วนตัว หนึ่งในสิ่งที่ทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่คือ พื้นที่ส่วนตัวนั่นเอง การมีพื้นที่ส่วนตัวบ้างในบางเวลา อาจช่วยให้เกิดความสบายใจ เลือกทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้และรู้สึกผ่อนคลาย อยู่กับตัวเองมากขึ้นนั่นเอง การใช้ความรุนแรง เป็นเรื่องที่หนักหน่วงที่สุด คือการลงไม่ลงมืออย่างรุนแรง เพราะเป็นภาษากายที่ต่อให้มีการอธิบายอย่างไร ก็ยังคงสร้างบาดแผลในใจได้อยู่ดี พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ว่าจะเพื่อกดดันเกินวัย หรือการใช้คำหยาบคาย การพูดทำร้ายจิตใจทางอ้อม ทั้งหมดล้วนสร้างบาดแผลในใจเด็ก อาจทำให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมและนำไปทำต่อคนอื่นๆ ต่อ ซึ่งเป็นผลเสียทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพฤติกรรมที่อาจทำให้บ้านไม่ใช่เซฟโซนของเด็กๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นเช็กสถานะความสุขในบ้าน …

Checklist นี่เราเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือเปล่านะ!? Read More »

TCH ชวนคิด! สอนเด็กด้วยวิธีการสอนแบบเรา หรือควรสอนตามวิธีที่เด็กเรียน?

teaching method

สอนแบบไหนดี ที่จะได้ผลลัพธ์ดีที่สุด ทุกวันนี้การเรียนการสอนมักจะเป็นแบบแผน ตามที่โรงเรียน หรือคุณครูกำหนดขึ้น ซึ่งหลายๆ ครั้ง ทางโรงเรียนก็จะจัดการสอนที่ได้มาตรฐาน และมีเนื้อหาที่เข้มข้น ครบถ้วน ซึ่งทำให้เด็กๆ ได้รับข้อมูลจำนวนมากนั่นเอง แต่ก็มักจะเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ ว่า เด็กๆ ไม่เข้าใจในตัวบทเรียนเลย และต้องหาทางทำความเข้าใจเรื่องนั้นๆ หลายช่องทาง ทั้งๆ ที่จริงๆ ควรจะเรียนแล้วสามารถเข้าใจได้เลย ว่าแต่อะไรคือปัญหา? เพราะบทเรียนที่ดีนั้น อาจต้องถูกถ่ายทอดผ่านภาษาที่เด็กๆ เข้าใจ หรือการเรียนรู้ที่เหมาะกับช่วงวัย จะช่วยให้เนื้อหาสามารถเข้าหัว และจดจำได้ง่ายขึ้น เช่น ผู้ใหญ่อาจเคยชินกับการอ่านหนังสือยาวๆ และใช้สมาธิ แต่เด็กๆ อาจมีสมาธิต่อเนื่องที่สั้นกว่า จึงต้องย่นบทเรียน และสอดแทรกด้วยกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริง เพื่อความเข้าใจ หากเราลองใส่ใจการรับรู้ของสมองของเด็กๆ แต่ละช่วงวัย จะพบวิธีที่เหมาะสมที่พวกเขาจะเข้าใจหรือเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ เพียงเรานำเนื้อหา ไปนำเสนอ ด้วยวิธีที่สอดคล้องกันนี้ ก็จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กๆ ต้องท่องศัพท์จำนวนมาก ในเวลาอันสั้น การให้ท่องจำเฉยๆ อาจไม่เหมาะสม แต่เราอาจใช้กลวิธีในการนำคำศัพท์เหล่านั้นมาแปลงเป็นเพลง เพื่อหลอกสมองให้สามารถจดจำข้อมูลทั้งหมด ผ่านเพลง 1 เพลงได้นั่นเอง …

TCH ชวนคิด! สอนเด็กด้วยวิธีการสอนแบบเรา หรือควรสอนตามวิธีที่เด็กเรียน? Read More »

เรียนออนไลน์จะรู้เรื่องไหม?

online tuition

การเลี้ยงลูกของคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ หลายๆ ครั้งที่เราไม่มีเวลาพาเด็กๆ ออกไปเรียนที่สถาบันข้างนอกบ้าน แต่อยากให้พวกเขาได้เรียนเสริมเพื่อให้พัฒนาตามคนอื่นได้ทัน การเรียนออนไลน์ จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ผู้ปกครองให้ความสนใจ แต่เรื่องน่ากังวลก็ยังคงมี เช่น.. ลูกไม่มีสมาธิเรียนออนไลน์ เมื่อต้องเรียนออนไลน์ ภาระงานตกมาอยู่ที่พ่อแม่ พ่อแม่ไม่มีเวลาว่างพาน้องเรียน อยากหาคนมาช่วยพาน้องเรียนออนไลน์ ต้องเฝ้าประกบน้องเรียนออนไลน์ตลอด คุณแม่ยุ่งมากทั้งวันไม่ได้ทำงานเลย น้องไม่ตั้งใจเรียน ทำการบ้านเองไม่ได้ ตั้งแต่เริ่มเรียนออนไลน์ Thailand Course Hub จึงจัดคุณครูที่พร้อมช่วยประกบเด็กๆ เรียนออนไลน์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้ผู้ปกครองได้มั่นใจว่า การเรียนออนไลน์ของน้องๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสมาธิ และมั่นใจได้ว่าน้องจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียน งานทุกชิ้นในคลาสเรียนเสร็จสมบูรณ์ตามที่ได้รับมอบหมาย รับทราบจุดเด่น และจุดสำคัญที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมจากการรายงานผลอย่างใกล้ชิด หมดปัญหาเด็กๆ ไม่มีสมาธิ เรียนไม่รู้เรื่อง ได้พัฒนาการตามทันเพื่อนๆ แถมยังไม่รบกวนเวลางานของคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย สนใจเรียนวิชาการ ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 061-9542244 หรือ 089-6792835 Line : @thailandcoursehub  Class at home in Bangkok …

เรียนออนไลน์จะรู้เรื่องไหม? Read More »

เด็กๆ แค่ซน หรือเป็นโรคสมาธิสั้น

ADHD

เด็กซน หรือสมาธิสั้น เมื่อเด็กๆ ตื่นตัวตลอดเวลา และมักจะทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีพลังเสมอ แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ ต้องรู้สึกชื่นใจและรู้สึกว่า เด็กๆ แข็งแรง มีพลัง อาจเป็นเรื่องที่ดี และไม่น่าเป็นห่วง แต่บางครั้ง การตื่นตัวก็พ่วงมาด้วยความ “ซน” ซึ่งเด็กๆ กับความซน ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ที่พ่อแม่เตรียมใจรับไว้อยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อเด็กๆ เริ่มที่จะเกินการควบคุม พูดอะไรไม่รับฟังเลย อันนี้ยังถือว่าเป็นการซนธรรมดาหรือไม่ หรือเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น บทความนี้ มีข้อสังเกตที่ถ้าหากเด็กๆ มีอาการเหล่านี้ อาจไม่ใช่แค่ความซนทั่วไป แต่เป็นเสี่ยงโรคสมาธิสั้นได้ค่ะ ไม่สามารถรอได้ หากเด็กๆ มีพฤติกรรม ไม่สามารถรออะไรได้เลย หรือไม่สามารถทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งจนจบได้ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทำนิดนึงเปลี่ยน อันนี้อาจถือว่ามีความเสี่ยงได้ค่ะ ไม่มีสมาธิจนฟังคำสอนไม่รู้เรื่อง เด็กๆ จะมีพฤติกรรม ที่ไม่สามารถตั้งใจฟังคำสอนของพ่อแม่ได้ จนทำให้ไม่รู้เรื่องและไม่เข้าหัว สอนอะไรพวกเขาไม่สำเร็จ ใจลอย ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เด็กๆ จะมีพฤติกรรม ไม่สนใจกับสิ่งที่ตนเองไม่อยากทำเลย หากถูกสั่งให้ทำอะไรที่ไม่ชอบ ก็จะใจลอย ไม่มีสมาธิไม่โฟกัสเลย แสดงอารมณ์ก้าวร้าว เมื่อเด็กๆ ถูกขัดใจ …

เด็กๆ แค่ซน หรือเป็นโรคสมาธิสั้น Read More »

Deep Talk ก็จำเป็นสำหรับเด็ก!

Deeptalk

Deep Talk การคุยเชิงลึก เวลาเราพูดถึงการ “Deep Talk” หรือ การคุยเชิงลึก ก็มักจะนึกถึงนักปรัชญา การคุยสำหรับผู้ใหญ่ การสนทนาของคู่แต่งงาน การคุยเรื่องชีวิต เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของผู้มีอายุแล้วทั้งนั้น แต่การคุยเชิงลึก ก็จำเป็นสำหรับเด็กๆเช่นกันค่ะ! เพราะวิธีการนี้สามารถช่วยดึงความในใจลึกๆ ของเด็กๆ ออกมา ช่วยให้เราได้ศึกษาความชอบและความคิดของเด็กๆ แถมยังช่วยให้เด็กๆ ไม่มีพฤติกรรมเก็บตัว เก็บความคิด หรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในอนาคตนั่นเองค่ะ หากใครยังไม่รู้ว่า เอ๊ะ… แล้วจะชวนพวกเขาคุยด้วยเรื่องอะไรดีนะ บทความนี้มีไอเดียชุดคำถามดีๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย! หนูคิดว่า ความรักคืออะไร การให้เด็กๆ ได้นิยามคำศัพท์พื้นฐาน สามารถช่วยให้เห็นแนวคิดใหม่ๆ ของเด็กๆ ได้ และสามารถเข้าใจลักษณะนิสัย จากการตีความได้ด้วยค่ะ หนูคิดว่า คุณครูที่ใจดี มีผลทำให้หนูชอบวิชานั้นๆ ด้วยไหม? คำถามนี้ทำให้เด็กๆ ได้ใช้ไอเดีย และความคิดที่ลึกซึ้งขึ้น เกิดการนึกภาพ การประเมินอารมณ์และความชอบจากประสบการณ์ในอดีตนั่นเองค่ะ อะไรทำให้หนูไม่ยกมือตอบคำถาม คำถามนี้ จะช่วยให้เด็กๆ อธิบายความกลัว ความกังวลของตัวเองออกมา และฝึกการบรรยายเหตุผล …

Deep Talk ก็จำเป็นสำหรับเด็ก! Read More »

รวมกิจกรรมในวันหยุด เสริมพัฒนาการเด็ก

child development activities

ไอเดียกิจกรรมดีๆ สำหรับเด็กในวันหยุด เมื่อถึงช่วงปิดเทอม ที่มีวันหยุดเป็นระยะเวลานานของเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่จึงเริ่มหากิจกรรมดีๆ ให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กันอยู่ใช่ไหมคะ บทความนี้จะมาเสนอไอเดียกิจกรรมดีๆ ที่ให้เด็กๆ ได้ทำกันในช่วงวันหยุด พร้อมเสริมพัฒนาการไปด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันค่ะ การเล่นบอร์ดเกม หนึ่งในกิจกรรมยอดฮิตของเด็กๆ ยุคนี้ คือบอร์ดเกมนั่นเองค่ะ เพราะนอกจากสนุก และได้เข้าสังคมกับเพื่อนๆ แล้ว บอร์ดเกมยังมีประโยชน์กับเด็กๆ มากกว่าที่คิด เพราะได้ฝึกการวางแผน การอ่านเกม การหัดสังเกตผู้อื่น อ่านใจผู้อื่น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ตอนที่พวกเขาทำงานแล้วนั่นเองค่ะ กิจกรรม DIY หนึ่งในกิจกรรมที่ทั้งสนุก และยังฝึกพัฒนาทักษะวิชาชีพ ที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเทียนหอม ทำกระเป๋า ทำโหลแก้วต่างๆ ซึ่งหากเด็กๆได้ลองทำกิจกรรมแล้วรู้สึกชอบ บางคนสามารถทำไปพัฒนา ทำเป็นสินค้าขายได้กำไรดีเลยค่ะ ฝึกทำอาหาร การทำอาหารถือเป็นกิจกรรมที่ ช่วยเสริมทักษะชีวิต และไม่ใช่ทักษะที่ทุกคนจะทำได้ ทั้งที่เป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไป นอกจากจะทำให้เด็กๆ สามารถอยู่เองได้ ทำอาหารเองได้แล้ว ยังสามารถต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคตได้อีกด้วยค่ะ เรียนภาษาอังกฤษ อีกหนึ่งกิจกรรมที่ออกจะวิชาการไปซะหน่อย แต่ก็จำเป็นอย่างมาก เพราะการสื่อสารสำคัญที่สุด ความสัมพันธ์ การพูด เป็นสิ่งที่มนุษย์เชื่อมกัน และไม่สามารถใช้ …

รวมกิจกรรมในวันหยุด เสริมพัฒนาการเด็ก Read More »

การเปิดใจ หนึ่งในสกิลที่เด็กๆ ควรมี

open minded

การเปิดใจ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ควรมีทักษะนี้ การเปิดใจ คือหนึ่งใน Soft Skill ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาตัวเอง ซึ่งหลายๆ ครั้ง คนที่ขาดสกิลนี้ จะไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้อย่างกว้างขวางมากนัก จึงเรียกได้ว่า หากฝึกการเปิดใจไว้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจพัฒนาตัวเองได้ไกลกว่าคนอื่นๆ นั่นเองค่ะ เพราะการเปิดใจ สามารถทำให้เรามีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับสิ่งต่างๆ ที่หลากหลายได้ และเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน เปิดรับความรู้ใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ และไม่ปิดกั้นตั้งแต่แรกเริ่ม โดยการฝึกทักษะเปิดใจ สามารถทำได้ดังนี้ ฝึกการรับฟัง การรับฟังเป็นหนึ่งในสกิลที่ทำให้พัฒนาไปสู่การเปิดใจได้ การรับฟังทำให้เราได้รับข้อมูลความรู้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ได้ฟังมุมมองใหม่ๆ จากคนใหม่ๆ เพิ่มการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น ฝึกไม่ตัดสิน การตัดสินอย่างรวดเร็วว่า สิ่งที่เราได้รับฟังมา ดีหรือร้าย ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะมองเห็นความสำคัญบางอย่างในบางเรื่อง เพราะฉะนั้น การไม่ตัดสิน และตั้งใจฟังก่อน จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาการเปิดใจได้ดียิ่งขึ้นค่ะ ไม่กลัวที่จะแตกต่าง ความกลัวคือหนึ่งในอุปสรรคที่จะทำให้ปิดกั้นการเรียนรู้ หากเราเข้าใจถึงความแตกต่างและไม่กลัว ก็จะสามารถก้าวสู่โลกที่กว้างขึ้น เปิดใจยิ่งขึ้น เติบโตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้นนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ การเปิดใจยังสามารถฝึกได้จากบทเรียนเล็กๆ ในชีวิตอีกมาก ทั้งความใจเย็น ความเข้าอกเข้าใจ สิ่งนี้สามารถทำให้เราพัฒนาตัวเอง เรียนรู้ได้กว้างขึ้น และยังสามารถเป็นที่รักและนับถือของคนรอบข้างได้อีกด้วยนั่นเอง …

การเปิดใจ หนึ่งในสกิลที่เด็กๆ ควรมี Read More »

กิจกรรมช่วยสร้างความผูกพันธ์ ได้ดีกว่าสิ่งของ

relationship building

หมั่นเติมความรักให้กับลูกน้อย ผ่านกิจกรรมดีๆ การดูแลลูกๆ ของเรานั้น มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยเติมเต็มความรักให้กับเขาได้ ไม่ว่าจะเป็น การให้เวลา การทำกิจกรรมร่วมกัน การทานข้าวด้วย หรือการให้รางวัลให้ของขวัญเป็นต้น ซึ่งวิธีที่กล่าวมา มักจะใช้ตามโอกาสที่ต่างกันไปตามความเหมาะสม แต่บางครั้งเราอาจเผลอใช้วิธีใดวิธีหนึ่งซ้ำๆ จนทำให้ขาดแนวทางอื่นๆ ได้ เช่น หลายๆ ครั้งที่เราไม่มีเวลาให้เด็กๆ เราจึงใช้การแสดงความรักผ่านสิ่งของแทน แต่นั่นอาจไม่สามารถสร้างความผูกพันธ์ระหว่างครอบครัวได้ดีเท่าที่ควร หนึ่งในการมอบความรักที่ดีและเหมาะกับเด็กๆ ที่สุด คือการใช้เวลาร่วมกัน หรือการทำกิจกรรมร่วมกันนั่นเอง เพราะเด็กๆ จะรับรู้ถึงความรัก และได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากกว่าแค่การให้สิ่งของ กิจกรรมนั้นมีหลากหลายประเภท เช่น การออกกำลังกายด้วยกัน การทานข้าวร่วมกัน การพาเด็กๆ ไปสถานที่ใหม่ๆ หรือการทำกิจกรรมเวิร์กชอปร่วมกัน การพาเด็กๆ ไปเจอเพื่อนๆ หรือสังคมใหม่ๆ ก็ช่วยได้ค่ะ เพราะนอกจากจะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การใช้ชีวิต และเรื่องความใกล้ชิด ยังทำให้เด็กๆ รู้จักการเข้าสังคม หรือการพัฒนา Soft Skill ต่างๆติดตัวไว้อีกด้วย หากมีเวลา และสามารถพาเด็กๆ ไปทำกิจกรรมร่วมกันได้เป็นประจำ เชื่อว่าเด็กๆ จะสามารถสัมผัสได้ถึงความรักความผูกพันธ์ที่แท้จริงได้จากครอบครัวอย่างแน่นอนค่ะ ใครที่สนใจเรียนรู้ทักษะต่างๆ ก็สามารถติดตาม …

กิจกรรมช่วยสร้างความผูกพันธ์ ได้ดีกว่าสิ่งของ Read More »