การพัฒนาการด้านอารมณ์

ทำอย่างไร เมื่อลูก “เถียง”

argue kids

รับมืออย่างไร เมื่อลูกเถียง ปัญหาที่ทุกครอบครัวต้องเจอ เมื่อมีเจ้าตัวน้อย ก็คือ การที่ลูกมักจะ “เถียง” เวลาเราพยายามจะสอนหรือตักเตือนอะไร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เพียงแต่การตอบโต้ของเรานั้น ควรทำอย่างไรถึงจะดีนะ? และการที่เด็กๆ มีพฤติกรรมแบบนี้ เกิดจากอะไรกัน? การเถียงเกิดขึ้นได้ใน 2 ช่วงวัยหลักๆ ของเด็กๆ ที่มักพบเจอกันได้คือ ช่วงเด็กเล็ก ที่เพิ่งเรียนรู้การสื่อสารได้ไม่นาน กับช่วงก่อนเข้าวัยรุ่น โดย 2 ช่วงวัยนี้ จะมีเหตุผลในการเถียงที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ช่วงวัยเด็กแรกเริ่มหัดสื่อสารนั้น เด็กๆ มักจะยังไม่รู้วิธีการสื่อสารมากนัก จึงอาจทำให้ไม่รู้ว่า สิ่งนี้ คือการเถียง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งการที่เขาเถียงอาจเกิดจากการเลียนแบบสื่อที่ได้เห็น หรือพฤติกรรมของเราเองก็เป็นได้ ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่น การเถียงมักเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย ที่ทำให้พวกเขาเกิดอาการหงุดหงิดง่าย ต้องการพื้นที่ส่วนตัว มีความต้องการชัดเจน อยากรู้อยากลอง และไม่อยากเชื่อฟังเท่าที่ควร ซึ่งวิธีการรับมือเมื่อลูกๆ เริ่มมีพฤติกรรมการ “เถียง” เกิดขึ้นนั้น อาจทำได้ดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำให้พวกเขาสามารถจดจำ และเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่า การเถียงนั้น อาจไม่ใช่เรื่องที่ปกตินัก หากเราสุภาพ …

ทำอย่างไร เมื่อลูก “เถียง” Read More »

Checklist นี่เราเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือเปล่านะ!?

Toxic family checklist

รู้หรือไม่? พฤติกรรมของเราสามารถส่งต่อถึงผู้อื่นได้ เรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่ถูกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ คือเรื่องการ Toxic หรือการเผลอทำพฤติกรรมที่ส่งผลลบต่อจิตใจคนรอบข้าง โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในครอบครัวตัวเองนั่นเองค่ะ ซึ่งหลายครั้ง ก็เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้เจตนาให้เกิดความรู้สึกแง่ลบ แต่อาจทำไปโดยไม่ทันคิด บทความนี้จึงอยากชวนผู้อ่านมา Checklist กันอีกครั้งว่า เรากำลังเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือไม่!? ไม่รับฟังปัญหาของอีกฝ่าย หลายครั้งที่เราอาจพลาดที่จะรับฟังปัญหาที่เด็กๆ พยายามจะบอก อาจทำให้เกิดความรู้สึกในใจขึ้นได้ว่า เด็กๆ ไม่สามารถบอกอะไรกับพ่อแม่ได้ และทำให้ฝ่ายพ่อแม่เองไม่รู้ปัญหาของเด็กๆ อีกด้วย อาจแก้ไขด้วยการถามไถ่สม่ำเสมอ ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเด็กๆ พูดคุย สร้างความสนิทสนม ให้เกิดความสบายใจนั่นเองค่ะ ไม่ให้พื้นที่ส่วนตัว หนึ่งในสิ่งที่ทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่คือ พื้นที่ส่วนตัวนั่นเอง การมีพื้นที่ส่วนตัวบ้างในบางเวลา อาจช่วยให้เกิดความสบายใจ เลือกทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้และรู้สึกผ่อนคลาย อยู่กับตัวเองมากขึ้นนั่นเอง การใช้ความรุนแรง เป็นเรื่องที่หนักหน่วงที่สุด คือการลงไม่ลงมืออย่างรุนแรง เพราะเป็นภาษากายที่ต่อให้มีการอธิบายอย่างไร ก็ยังคงสร้างบาดแผลในใจได้อยู่ดี พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ว่าจะเพื่อกดดันเกินวัย หรือการใช้คำหยาบคาย การพูดทำร้ายจิตใจทางอ้อม ทั้งหมดล้วนสร้างบาดแผลในใจเด็ก อาจทำให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมและนำไปทำต่อคนอื่นๆ ต่อ ซึ่งเป็นผลเสียทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพฤติกรรมที่อาจทำให้บ้านไม่ใช่เซฟโซนของเด็กๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นเช็กสถานะความสุขในบ้าน …

Checklist นี่เราเป็นครอบครัวที่ Toxic อยู่หรือเปล่านะ!? Read More »